ประวัติความเป็นมา
 
ประวัติความเป็นมา ตราสัญลักษณ์
  • จังหวัดสมุทรสาครเป็นจังหวัดชายทะเล ตั้งอยู่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีชุมชนขนาดใหญ่ตั้งอยู่บริเวณปากอ่าวไทย ซึ่งมีชาวจีนนําเรือสําเภาเข้ามาจอดเทียบท่าค้าขายแลกเปลี่ยน สมัยแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พ.ศ. 2099) ได้โปรด ให้ยกฐานะ "บ้านท่าจีน" ขึ้นเป็น "เมืองสาครบุรี" เพื่อเป็นหัวเมืองสําหรับเรียกระดมพลเวลาเกิดสงคราม และเป็นเมืองด่านหน้าป้องกันข้าศึกศัตรูที่จะเข้ามารุกรานบุกรุกทางทะเล ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงโปรด ให้เปลี่ยนชื่อ "เมืองสาครบุรี" เป็น "เมืองสมุทรสาคร" ซึ่งมีความหมายว้า "เมืองแห่งทะเลและแม่น้า" ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2448) ทรงปฏิรูปการปกครองมีการจัดระบบการบริหารราชการส่วน ภูมิภาคเป็นมณฑลเทศาภิบาล และได้ทรงมีพระราชดําริที่จะสร้างสรรค์ความเจริญให้แก่ท้องถิ่น โดยใช้รูปแบบการปกครองแบบสุขาภิบาล จึงได้มีพระบรมราชโองการ ให้ยกฐานะ "ตําบลท่าฉลอม" เป็น "สุขาภิบาลท่าฉลอม" เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2448 จึง ถือได้ว่า สุขาภิบาลท่าฉลอม เป็นสุขาภิบาลที่ตั้งขึ้นในหัวเมืองเป็นแห่งแรกของ ประเทศไทย

    ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาล ที่ 6 (พ.ศ. 2456) โปรดเกล้า ให้ทางราชการเปลี่ยนคําว่า "เมือง" เป็น "จังหวัด" ทั่วทุกแห่ง ในพระราชอาณาจักร "เมืองสมุทรสาคร" จึงได้เปลี่ยนเป็น "จังหวัดสมุทรสาคร" ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

    ส่วนคําว่า "มหาชัย" ที่คนทั่วไปชอบเรียกกันนั้น เป็นชื่อคลองที่สมเด็จพระสรรเพชญที่ 8 แห่งกรุงศรีอยุธยาโปรดให้ขุดคลองลัดจากเมืองธนบุรี เป็นแนวตรงไปออกปากน้ำเมืองสาครบุรีแทนคลอง โคกขามที่คดเคี้ยว แต่ยังไม่ทันเสร็จทรงสวรรคตเสียก่อน จนถึงรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญที่ 9 (ขุนหลวง ท้ายสระ) ได้โปรดให้ขุดคลองต่อจนแล้วเสร็จ และได้พระราชทานนามว่าคลองมหาชัย ซึ่งต่อมา ณ บริเวณ ฝั่งซ้ายปากคลองได้เกิดชุมชนขนาดใหญ่ขึ้นชื่อว่า "มหาชัย" จึงเป็นที่นิยมเรียกขานแต่นั้นเป็นต้นมา